วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2551

วิตา่มินบี5 (vitamin B5)

วิตามินบี5 หรือ pantothenic acids เป็นวิตามินบี ชนิดหนึ่งซึ่งละลายในน้ำ สลายตัวได้ง่ายในกรดด่างและความร้อน เป็นส่วนประกอบของ Acetyl CoA ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการ
สลาย คาร์โบไฮเดรตและไขมัน

เนื่องจากเป็นวิตามิน ที่พบได้ในอาหารทั่วไป จึงไม่พบการขาดวิตามิน ชนิดนี้ในคน

แหล่งอาหาร
ทั้งจากพืชและสัตว์ แหล่งที่ดีที่สุด คือ ไข่แดง ตับ ยีส

ผู้ใหญ่ควรได้รับประมาณ 4-7 mg/วัน

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2551

วิตา่มินบี3 (Niacin)

niacin หรือ วิตามินบี3 เป็นวิตามินบีรวมซึ่งละลายได้ในน้ำ

หน้าที่ของไนอะซิน
1.เป็นสารประกอบที่จำเป็นสำหรับปฏิกิริยา oxidation-reduction ของการสลาย คาร์โบไฮเดรต,โปรตีน,ไขมัน
2.เป็น coenzyme ของ dehydrogenase
3.จำเป็นต่อการสังเคราะห์ ไกลโคเจน
4.จำเป็นต่อการสังเคราะห์พลังงานในรูป ATP

อันตรายจาการขาดไนอะซิน
3D
1.Dermatitis ผิวหนังอักเสบแห้งแตก
2.Dementia มีอาการทางระบบประสาท คือ สับสน ความจำเสื่อม เห็นภาพหลอน นอนไม่หลับ
3.Diarrhea ท้องเสียและระคายเคืองทางเดินอาหาร

ปริมาณที่ควรได้รับ
-เด็กประมาณ 12 mg/วัน
-ผู้ใหญ่ประมาณ 14-16 mg/วัน
-ใน หญิงตั้งครภ์ หรือ ให้นมบุตร ต้องารถึง 18mg/วัน

วิตามินบี2 (vitaminB2)

วิตามินบี2 (Riboflavin) เป็นวิตามินบีรวมชนิดหนึ่งซึ่งเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ทนต่อความร้อนและกรดแต่ไม่ทนต่อแสง

หน้าที่ของวิตามินบี2
1.เป็น coenzyme ของปฏิกิริยา oxidation-reduction และสร้างพลังงานโดยผ่านกระบวนการลูกโซ่ของการหายใจ
2.ช่วยในการเปลี่ยน กรดอะมิโน ชนิด tryptophan ให้เป็น Niacin
3.ช่วยในการเปลี่ยนเป็นวิตามินบี6

อันตรายจากการขาดวิตามินบี2
จะไม่แสดงอาการระยะแรก ทราบได้จากการตรวจเลือดเท่านั้น
อาการ เจ็บคอ เยื่อบุในช่องปาก,ลิ้นคออักเสบบวม ปากเปื่อย หรือที่เรียกว่า ปากนกกระจอก
ตาสู้แสงไม่ได้ น้ำตาไหล ผมแห้งร่วง

แหล่งที่พบ
นมเนย ไข่ เนื้อสัตว์ ผักใบเขียว

ปริมาณที่ต้องการ ประมาณ 1.2 mg/วัน

วิตามิน บี1 (Vitamin B1)

วิตามินบี1 เป็น 1ในวิตามินบีรวม มีชื่อว่า Thiamine ซึ่งเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ซึ่งมีคุณสมบัติในการป้องกันโรคเหน็บชา

หน้าที่ของวิตามินบี1
1.เป็นโคเอนไซม์ต่างๆ ช่วยในการสร้างพลังงาน ช่วยในการนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ
2.เหนี่ยวนำให้เกิดกระแสประสาท แก่ระบประสาทส่วนปลาย
3.ช่วยในการ เจริญเติบโต,ระบบสืบพันธุ์,การสร้างน้ำนม
4.จำเป็นต่อกระบวนการเผาผลาญสารอาหาร

อันตรายจากการขาดวิตามินบี1
เป็นโรคเหน็บชา ซึ่งแบ่งได้เป็น
1.แบบแห้ง (dry beri beri) กล้ามเนื้ออ่อนแรง
2.แบบเปียก (wet beri beri) มีการบวมร่วมกับอาการทางระบบประสาท มือและเท้าเขียว
3.ในทารก (infantile beri beri) พบในทารกที่ทานนมแม่ที่ขาด thiamine หัวใจโตแล้วล้มเหลวได้
4.แบบไม่มีเสียง (aphonic beri beri) ตากระตุก,กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวเอง อาจชักได้
5.จากการดื่มแอลกอฮอล์ (Wernicke-Korsakoff) ตากระตุก,ม่านตาไม่ตอบสนอง,สูญเสียการทรงตัว

ความเป็นพิษของวิตามินที่ละลายในน้ำ วิตามินที่ละลายในน้ำจะไม่สะสมในร่างกายสามารถถูกขับออกได้ทางปัสสาวะ จึงไม่เกิดการการสะสม

แหล่งที่พบ
เนื้อหมู,ตับ,ข้าวกล้องข้าวซ้อมมือ,ถั่วเมล็ดแห้ง

ปริมาณที่ควรได้รับ อย่างน้อยประมาณ 1mg/วัน

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2551

วิตามินเค (Vitamin K)

วิตามินเค เป็นวิตามินกลุ่มที่ละลายได้ดีในไขมัน ทนความร้อน ไม่ทนแสงและด่าง
รูปแบบที่พบในธรรมชาติ มี 2 รูปแบบ
Vitamin K I(phylloquinone) เป็นรูปแบบที่พบในพืชสีเขียว์
Vitamin K II (menaquinone) เกิดจากแบคทีเรียในลำไส้
Vitamin K III (menadione) นั้นี่ถูกสังเคราะห์ขึ้น ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็น เมนาควิโนน โดยตับ

หน้าที่ของวิตามินเค
เป็นองค์ประกอบของสารที่ทำให้เลือดแข็งตัว (clotting factor VII,IX,XและProthombin)

อันตรายจากการขาดวิตามินเค
พบได้น้อย มักเกิดจากการได้รับยาปฏิชีวนะต่อเนื่อง ทำให้เกิดเลือดไหลออกมากและเลือดไม่แข็งตัว


พิษจากการได้รับวิตามินเคมากเกิน
-เกิดภาวะซีดจากเลือดออก (anemia)
-เป็น ดีซ่าน (hyperbilirubin)

ปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน(RDA)

-ประมาณ120 ไมโครกรัม

แหล่งที่พบ

พบมากในอาหารประเภทผักใบเขียว นอกจากนี้ยังพบในเนื้อสัตว์ นม เนย ผักใบเขียว ผลไม้ ธัญพืช


วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551

วิตามินอีี (Vitamin E)

วิตามิน อี มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ tocopherol มีความคงทนต่อความร้อนและกรดไม่ทนต่อด่างและ UV
เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน มีการสะสมที่เนื้อเยื่อไขมันร้อยละ 90

หน้าที่ของวิตามินอี
1. วิตามิน อี ทำหน้าที่เป็นสารด้านอนุมูลอิสระ ที่มีประสิทธิภาพช่วยปกป้องเซลล์ในร่างกายให้
ทำงานได้อย่างปกติ
2. วิตามิน อี ช่วยบำรุง และป้องกันโรคหัวใจ
- วิตามิน อี มีคุณสมบัติบำรุงกล้ามเนื้อหัวใจ ช่วยป้องกันหลอดเลือดตีบส่งผลให้กล้ามเนื้อ
ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
- ช่วยซ่อมแซมกล้ามเนื้อหัวใจที่เสื่อมโทรม ในขณะเดียวกันวิตามิน อี ยังช่วยลดปริมาณ
ออกซิเจนที่เนื้อเยื่อต้องการ ทำให้คนที่เป็นโรคหัวใจไม่เหนื่อยหอบ หรือมีอาการเจ็บ
หน้าอก นอกจากนี้วิตามิน อี ยังลดการเกิดลิ่มเลือดจึงช่วยป้องกันการอุดตันของเส้น
เลือดหัวใจอีกด้วย
3. วิตามิน อี ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผู้ที่ได้รับวิตามิน อี อย่างสม่ำเสมอ จะมีอายุยืนยาวขึ้น
และจะไม่เจ็บป่วยด้วยโรคชราอย่างคนทั่วไป
4. วิตามิน อี มีผลในด้านการลดระดับโคเลสเตอรอล ซึ่งเป็นที่มาของภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
สาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด
5. วิตามิน อี มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสมองเสื่อม
6.บำรุงตับ
7.ช่วยในรบบสืบพันธุ์ เซลล์ประสาทละกล้ามเนื้อให้ทำงานได้ตามปกติ

มีผลดีต่อสุขภาพความงามและผิวพรรณ
ประสิทธิภาพทางด้านการดูแลรักษาความงามของวิตามิน อี ได้รับการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านความสวยงามมานานแล้ว ผลิตภัณฑ์เพื่อความงามที่ได้รับความนิยมประเภทต่าง ๆ จึงมักมีวิตมิน อี ช่วยในเรื่องการสร้างคอลลาเจนที่ผิวหน้าเพื่อปกป้องรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าก่อนวัยอันควร บำรุงรักษาผิวพรรณ มีประสิทธิภาพในการรักษาแผล ช่วยให้แผลหายเร็วและไม่เป็นแผลเป็น ทั้งยังช่วยรักษารอยฟกช้ำดำเขียว และเส้นเลือดขอดได้ดีอีกด้วย เหมาะสำหรับคนทั้งวัยหนุ่มสาวและผู้สูงอายุ

อันตรายจากการขาดวิตามินอี

-ชาบริเวณปลายประสาท

-เนื้อเยื่อเสื่อมสภาพเร็วขึ้น

-หลอดเลือดหัวใจแข็งส่งผลต่อหลอดเลือดตีบซึ่งทำให้หัวใจขาดเลือด


ปัจจุบันนี้ยังไม่พบว่ามีรายงานอันตรายจากการใช้วิตามินอี

ขนาดที่ได้รับการยืนยันว่าปลอดภัยและให้ผลในการดูแลสุขภาพที่ดี ควรจะรับประทานวิตามิน อี เสริมในขนาด 100-400 IU ต่อวัน เพราะถ้ามากกว่านี้อาจทำให้เลือดแข็งตัวช้า

ปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน (RDA)

-เพศชาย 10 mg/วัน

-เพศหญิง 8 mg/วัน

แหล่งของวิตามินอี

-น้ำมันจากเมล็ดพืช โดยเฉพาะจมูกข้าวสาลี และถั่วเปลือกแข็ง


วิตามินดี (Vitamin D)

วิตามินดีี มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ ว่า calciferol ซึ่งร่างกายเราสามารถสังเคราะห์ได้ จากโคเลสเตอรอล เมื่อผิวหนังได้รับแสงแดด

หน้าที่ของวิตามินดี

-ช่วยให้ลำไส้เล็กดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสได้ดีขึ้น
-ช่วยเกิดการสะสมแคลเซียมที่กระดูก

อันตรายจากการขาดวิตามินดี

-โรคกระดูกอ่อนในเด็ก(Rickets) ซึ่งจะมีอาการขาโก่งงอ
-ฟันผุง่ายและกระดูกเติบโตช้า ไม่แข็งแรง
-อกไก่ (knock-knee) กระดูก sternumโป่งออก

พิษจากได้รับวิตามินดีมากเกินไป

ไม่ควรได้รับเกิน 50 ไมโครกรัม/วัน

-เกิดการสะสมแคลเซียมทีกระดูกและเนื้อเยื่อ ที่ไตปอด (hypercalcaemia)
-มีอาการคลื่นไส้อาเจียน

ความต้องการวิตามินดี (RDA)

-โดยปกติแล้วร่างกายของเราสามารถสังเคราะห์เองได้ เมื่อได้รับแสงแดดดังนั้นการเสริมเพิ่มจึงไม่จำเป็นเว่้นแต่ไม่โดนแสงแดด
-ผู้ใหญ่ ประมาณ 5 ไมโครกรัม cholecalciferol หรือ 200 IU g ของวิตามินดี

แหล่งของวิตามินดี

-มีมากในตับ, ปลาไหล, ไข่แดง, เนย, มาการีน, แครอท, ฟักทอง และผักเขียวเหลืองต่างๆ